รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ฉบับแก้ไข ของ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทย

การเลือกตั้งแบบสัดส่วนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ เพราะการปัดเศษถึง 8 ครั้ง ใน 8 กลุ่มจังหวัด ทำให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบเป็นช่องว่างที่กว้างขึ้น และอีกหลายประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นก่อนการเลือกตั้งปี 2554 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกระบบสัดส่วนทิ้งไป กลับมาใช้ระบบบัญชีรายชื่อ บัญชีเดียวทั่วประเทศ แต่ได้เพิ่มจำนวนจาก 80 เป็น 125 คน และไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน

การสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าพรรคการเมือง ต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวันเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งหนังสือยินยอมของผู้สมัคร และเงินค่าธรรมเนียมการสมัครคนละ 10,000 บาท และมีหลักฐานการสมัครครบถ้วนตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน โดยไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำที่แต่ละพรรคจำเป็นจะต้องได้เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[1] ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้เคยถูกกำหนดไว้ให้พรรคที่นำมาคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องมีคะแนนขั้นต่ำร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งหมดจึงนำมาคำนวณ[2]

ตัวอย่างการคิดคะแนน

จำนวนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งให้กำหนดสมมุติว่าเท่ากับ 61 ล้านคน (61 ล้านคะแนน)

พรรค ก., ข., ค., ง., จ., ช., ซ. ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบอบบัญชีรายชื่อผลออกมาเป็นดังนี้

  • พรรค ก. ได้ 20 ล้านคะแนน
  • พรรค ข. ได้ 15 ล้านคะแนน
  • พรรค ค. ได้ 12 ล้านคะแนน
  • พรรค ง. ได้ 10 ล้านคะแนน
  • พรรค จ. ได้ 2 ล้านคะแนน
  • พรรค ช. ได้ 7 แสนคะแนน
  • พรรค ซ. ได้ 3 แสนคะแนน
  • ไม่ลงคะแนนพรรคใดหรือบัตรเสีย 1 ล้านคะแนน

ฉะนั้นคะแนนของ 7 พรรคจะรวมกันได้ 60 ล้านคะแนน จะต้องนำคะแนนมาหาร 125 จะได้เท่ากับ 4 แสน 8 หมื่นคะแนน

เราจะต้องเอา 480,000 มาหารกับคะแนนทั้งหมดของแต่ละพรรค ซึ่งถ้าคะแนนถึง 480,000 ก็จะได้สส.อย่างน้อย 1 คน (จำนวนที่คิดได้นี้จะปัดเศษทั้งหมด เพื่อดูก่อนว่าจะได้สส.ครบ 125 คนหรือไม่)

  • พรรค ก. ได้สส. 41 คน
  • พรรค ข. ได้สส. 31 คน
  • พรรค ค. ได้สส. 25 คน
  • พรรค ง. ได้สส. 20 คน
  • พรรค จ. ได้สส. 4 คน
  • พรรค ช. ได้สส. 1 คน
  • พรรค ซ. ได้สส. 0 คน

รวมแล้วจะได้สส. 122 คน ซึ่งจะขาดอีกเพียง 3 คน ฉะนั้นจะต้องพิจารณาเศษคะแนนว่าพรรคใดจะใกล้เคียงมากที่สุด ผลปรากฏว่า

  • พรรค ก. เศษเท่ากับ 320,000 คะแนน
  • พรรค ข. เศษเท่ากับ 120,000 คะแนน
  • พรรค ค. เศษเท่ากับ 0 คะแนน
  • พรรค ง. เศษเท่ากับ 400,000 คะแนน
  • พรรค จ. เศษเท่ากับ 80,000 คะแนน
  • พรรค ช. เศษเท่ากับ 220,000 คะแนน
  • พรรค ซ. เศษเท่ากับ 300,000 คะแนน
  • พรรค ง., ก., ซ. มีเศษมากที่สุด 3 อันดับแรก จึงได้ สส. เพิ่มอีกพรรคละ 1 คน ซึ่งจะเท่ากับ 125 คนพอดี สรุปได้ว่า

สรุปการคิดคะแนน

  • พรรค ก. ได้สส. 42 คน
  • พรรค ข. ได้สส. 31 คน
  • พรรค ค. ได้สส. 25 คน
  • พรรค ง. ได้สส. 21 คน
  • พรรค จ. ได้สส. 4 คน
  • พรรค ช. ได้สส. 1 คน
  • พรรค ซ. ได้สส. 1 คน
ที่พรรคการเมืองได้คะแนนจำนวน ส.ส. จากการคำนวณครั้งแรกเหลือเศษจำนวน ส.ส. ที่ได้เพิ่มจากการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทั้งสิ้น
1พรรค ก.20,000,00041320,000142
2พรรค ข.15,000,00031120,000031
3พรรค ค.12,000,000250025
4พรรค ง.10,000,00020400,000121
5พรรค จ.2,000,000480,00004
6พรรค ช.700,0001220,00001
7พรรค ซ.300,0000300,00011
รวม1223125

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565